ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จอห์น เคจ

จอห์น เคจ (อังกฤษ: John Cage) คีตกวี นักเปียโน นักเขียน และนักปรัชญาทางดนตรีชาวอเมริกัน เกิดที่เมือง ลอสแอนเจลิส เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) เสียชีวิตที่เมือง นิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เขาเป็นคีตกวีที่มีบทบาทสำคัญในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองของอเมริกา มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดที่สำคัญทางดนตรีในศตวรรษที่ 20 อยู่หลายสายเช่น ทางสายดนตรี "อวองการ์ด" (Avantgarde) ที่ทางฝั่งยุโรปมีผู้นำอย่าง "คาร์ลไฮนซ์ สต็อกเฮาเซน" (Karlheinz Stockhausen [1928-]) และ "ปิแอร์ บูเลซ" (Pierre Boulez [1925-]) สายดนตรีแบบ "แนวคิดนิยม" (Conceptualism) รวมถึงสายดนตรี "มินิมัลลิสม์" (Minimalism) ที่เกิดขึ้นในอเมริการาวคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ด้วย

ศึกษาดนตรีกับ อาร์โนลด์ เชินแบร์ก (Arnold Schoenberg [1874-1951]) และ เฮนรี คาวเวล (Henry Cowell [1897-1965]) ซึ่งมีอิทธิพลต่องานของท่านในช่วงทศวรรษที่ 1930

งานประพันธ์ในช่วงแรกมีพื้นฐานมาจากการจัดวางระดับเสียงในบันไดเสียงโครมาติก หลังจากที่สังเกตเห็นเฮนรี คาวเวล นำเอาสิ่งของต่าง ๆ (เช่น คลิปหนีปกระดาษ ยางลบ ตะปู ฯลฯ) ไปวาง เสียบ หรือสอดระหว่างสาย เปียโน เพื่อสร้างสีเสียง (timbre หรือ tone color) ที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้นนั้น เคจจึงหันมาสนใจในเปียโนพิเศษนี้ ซึ่งเรียกกันว่า prepared piano หรือเปียโนที่เตรียมแล้ว (เปียโนแปลง) เคจประพันธ์งานโดยใช้เปียโนดังกล่าวในงานชื่อว่า "บัคคานาล" (Bacchanale-1938) ให้กับซิลวิลลา ฟอร์ท (Sylvilla Fort [1917-75]) โดยใช้แทนกลุ่มเครื่องเพอร์คัสชั่น ซึ่งทำให้ prepared piano กลายสภาพไปเป็นวงเพอร์คัสชั่นที่บรรเลงโดยคน ๆ เดียว ต่อจากนั้นประพันธ์ "เมตามอร์โฟซิส" (Metamorphosis-1938) และงานชิ้นสำคัญที่นำชื่อเสียงมาให้ในช่วงแรกนี้ก็คือ "โซนาตาและอินเทอลูด" สำหรับเปียโนแปลง (Sonatas and Interludes for prepared piano [1946-48]) จำนวน 20 บท (โซนาตา 16 บท และอินเทอลูด 4 บท) ในบทเพลงนี้ เคจได้บันทึกวิธีการแปลงเสียงของเปียโนจำนวน 45 เสียงเอาไว้ เพื่อสร้างเสียงที่มีลักษณะอย่างเพอร์คัสชั่นแบบใหม่ขึ้น ใช้ชุดของตัวเลขเพื่อกำหนดจังหวะในหลายบทเพลงของงานชุดนี้ โดยตั้งใจให้เพลงทุกบทในชุดแสดงแนวคิดเรื่อง "อารมณ์เดียวโดยตลอด" ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดนตรีอินเดีย โดยมีอารมณ์เช่น เจ็บปวด ยิ้มหัว วีรบุรุษ สงบ ฯลฯ ใช้ตารางเมทริกซ์ ในการคำนวณความยาวของบทเพลง ซึ่งส่งผลให้เกิดเอกภาพในงานโดยรวม และทำให้เลี่ยงจังหวะแบบปรกติหรือที่เรียกว่า "เรกูลา ริธึม" (regular rhythm) ไปได้ (จังหวะไม่ปรกติ เรียกว่า "อิเรกูลา ริธึม" (irregular rhythm)) ซึ่งทำให้บทเพลงมีความลื่นไหลปราศจากการถูกบังคับโดยเส้นกั้นห้อง งานในช่วงแรกอื่น ๆ มี "สตริงควอเต็ทอินโฟร์พาร์ท" (String Quartet in Four Parts [1950]) และ "คอนแชร์โตสำหรับเปียโนแปลงและวงดุริยางค์เชมเบอร์ที่ประกอบด้วยนักดนตรีเดี่ยว 22 คน" (Concerto for prepared piano and chamber orchestra of 22 soloists [1951])

ในระหว่างนั้น เคจได้ศึกษาพุทธศาสนานิกายเซน และตัดสินใจที่จะถ่ายทอดแนวคิดเซนเรื่อง "จิตว่าง" ออกมาเป็นดนตรี หลังความพยายามอย่างยิ่งยวดก็ได้ประพันธ์ "อิเมจิแนรี แลนด์สเคป หมายเลข 4" (Imaginary Landscape No. 4 [1951]) สำหรับวิทยุ 12 เครื่อง และ "มิวสิก ออฟ เชนช์" (Music of Change [1951]) สำหรับเปียโน จำนวน 4 เล่มด้วยกัน งานทั้งสองชิ้นเป็นการนำปรัชญาเซนมาแปลงให้เป็นดนตรี โดยมีเครื่องมือเป็นตำราการทำนายของจีนโบราณที่ชื่อว่า "อี้จิง" คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง และเหรียญที่ใช้ในการทอย 3 เหรียญ ผลที่ได้ก็คือ บทเพลงทั้งหมดถูกกำหนดโดยโอกาสในการทอยเหรียญ ซึ่งมีผลในแต่ละครั้งตรงกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในคัมภีร์อี้จิง สัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น เคจได้นำมาจัดระบบให้ตรงกับองค์ประกอบต่าง ๆ ทางดนตรี ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง ความสั้นยาวของจังหวะ ความดัง ฯลฯ ในปัจจุบันเรียกวิธีการประพันธ์แบบนี้ว่า "อินดีเทอมิเนซี" (Indeterminacy) คีตกวีบางท่านเรียกวิธีการแบบนี้ว่า "อะเลียโทรี" (Aleatory) ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า alea แปลว่า ลูกเต๋า งานที่มีชื่อมากที่สุดในช่วงนี้มีชื่อว่า 4'33" (1952) เป็นบทเพลงที่เทคนิคในช่วงที่สองได้พัฒนาไปจนถึงสุดขอบ เพราะเพลงดังกล่าวไม่มีเสียงใดเล็ดลอดออกมาจากผู้เล่น (อย่างน้อยก็ในความหมายของการบรรเลงดนตรีแบบเดิม) ในโน้ตเพลงจะประกอบด้วยสามกระบวน (movement) ทุกกระบวนจะบันทึกไว้ว่า tacet ซึ่งแปลว่าเงียบ นักดนตรี (คนเดียวหรือหลายคน) จะนั่งเงียบ ๆ บนเวทีเป็นเวลา 4 นาที 33 วินาที เคจกล่าวว่าเขา "คาดหวังให้ผู้ฟังฟังเสียงทุกเสียงที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่กำหนดอย่างตั้งอกตั้งใจ"

ในช่วงปี ค.ศ. 1951 วลาดิมีร์ อูซาเชฟสกี (1911-90) ได้ทดลองใช้ดนตรีไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เคจก็เช่นกัน เขาสนใจการสร้างงานต่าง ๆ บนเทปแม่เหล็ก และประยุกต์เอาวิธีการแแบบอะเลียโทรีที่ได้กล่าวไปแล้ว มาประพันธ์งานชื่อว่า อิแมจิแนรี แลนด์สเคป หรือทิวทัศน์ในจินตนาการ หมายเลข 5 (Imaginary Landscape No. 5[1952]) และงานที่ชื่อว่า วิลเลียม มิกซ์ (William Mix [1952]) งานอย่างอิแมจิแนรี แลนด์สเคป หมายเลข 5 เสียงวัตถุดิบประกอบด้วยเสียงอะไรก็ได้ที่บันทึกมาจำนวน 42 ชิ้น ในวิลเลียม มิกซ์ นั้นประกอบด้วยเสียงหกประเภทเช่น "เสียงของเมือง" "เสียงของชนบท" "เสียงที่เกิดจากลม" เป็นต้น เคจใช้เทปในการประกอบเสียงเข้าด้วยกันแบบตัดแปะ หรือที่เรียกว่าคอลลาจ (Collage) ในขณะที่อูซาเชฟสกีจะแปลงเสียงที่ได้มานอกเหนือจากบันทึกแล้ว

นวัตกรรมต่อไปของเคจก็คือ "แฮพเพนนิง" หรือการแสดงออกโดยฉับพลันทางศิลปะ ในกรณีของเคจเป็นดนตรี เคจจะสร้างงานจากกิจกรรมหรือการนำเสนอใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นจะต้องเกิดพร้อมกันแต่ต้องไม่สัมพันธ์กัน เคจยังสร้างงานประเภทที่เรียกว่า "ดนตรีละคร" (Theatre Music) เช่น "Water Music" (1952) ซึ่งในการแสดงต้องมีกิจกรรมที่นักเปียโนแสดงโดยไม่เกี่ยวข้องกับเปียโน (เทน้ำและเป่านกหวีดที่อยู่ใต้น้ำ เป็นต้น) เหตุการณ์ที่ปรากฏทางสายตาเป็นสิ่งสำคัญในงานประเภทนี้ แนวความคิดอย่าง "แฮพเพ็นนิง" นี้เป็นต้นแบบของขบวนการ "ฟลุกซุส" (Fluxus) ที่เกิดขึ้นในนิวยอร์กช่วงปี ค.ศ. 1960-65 ซึ่งนำเสนอคอนเสิร์ทที่ "ดนตรี" สร้างจากสิ่งที่ไม่ธรรมดาและมักดูตลกขบขัน หัวหอกท่านหนึ่งของขบวนการฟลุกซุสคือ จอร์จ เบรกท์ นั้น สร้างงานอย่าง "Drip Music" อันเป็นงานที่ประกอบด้วยการหยดน้ำจากที่ใดที่หนึ่งหนึ่งลงไปยังขวดเก็บน้ำ ลักษณะแบบเดียวกันยังก่อให้เกิดการล้อเลียนในงานของ ลิเกตี (Ligeti [1923*]) อย่าง Po?me symphonique สำหรับ เมโทรโนม 100 ตัว อีกด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301